คุณรู้หรือไม่ เบื้องหลังความสำเร็จส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่ในตลาด มีเรื่องของการวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญอย่างคู่แข่งและลูกค้า นั่นจึงทำให้การวิเคราะห์ตลาดเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาแผนการตลาดใหม่
การวิเคราะห์ตลาด ช่วยธุรกิจยังไงบ้าง ?
- ช่วยให้ธุรกิจทำความเข้าใจลูกค้า การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) นอกจากจะเป็นกระบวนการที่ช่วยธุรกิจตรวจสอบขนาดของตลาดแล้ว ยังช่วยในการรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำแหน่ง อายุ รายได้ และเพศ ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการสร้างแคมเปญการตลาดที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้
- ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) เป็นอาวุธสำคัญในการประเมินคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งเก่าหรือคู่แข่งใหม่ก็ตาม นอกจากนี้ยังช่วยวัดปฏิกิริยาของคู่แข่ง เมื่อเราปล่อยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ เพราะกลยุทธ์ จุดอ่อน และจุดแข็งของคู่แข่งเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่สุดต่อธุรกิจของเรา
- ทดสอบตลาดก่อนทำการเปิดตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เมื่อผลิตภัณฑ์และบริการเตรียมปล่อยสู่ตลาด ธุรกิจควรทำการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการก่อนเปิดตัว ส่วนการวิเคราะห์ตลาดจะช่วยให้วางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
การวิเคราะห์ตลาด ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
- ลักษณะของอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วยภาพรวมของอุตสาหกรรม, ข้อมูลสถิติของอุตสาหกรรม, อัตราการเติบโต และแนวโน้มของอุตสาหกรรม
- ตลาดเป้าหมาย หรือ target market ลูกค้าคือใคร หรือคนกลุ่มไหนที่เป็นเป้าหมาย โดยข้อมูลเหล่านี้รวมถึงข้อมูลประชากรที่สามารถนำมากำหนดเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงอายุ, เพศ, ระดับรายได้, และไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงขนาดของตลาดเป้าหมาย, ศักยภาพในการซื้อ และแรงจูงใจที่จะเรียกผู้ชม
- รวบรวมวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาด โดยศึกษาเนื้อหาเบื้องต้น ทั้งกระบวนการดำเนินการวิจัย, สถิติ ที่จะสนับสนุนการวิเคราะห์ตลาด
- การวิเคราะห์คู่แข่ง หรือ Competitive Analysis นอกจากวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้ว สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์คู่แข่งว่า ใครคือคู่แข่งของคุณ, จุดแข็งและจุดอ่อนของการแข่งขันคืออะไร?
หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ตลาด
นักการตลาดจะต้องเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของสภาพงานส่งเสริมการตลาดเป็นอย่างดี
ปัจจัยที่ทำให้การวิเคราะห์ตลาดมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมระดับมหภาค การวิเคราะห์ในระดับนี้เน้นดูองค์ประกอบภายนอกขององค์กรที่สร้างอิมแพ็คต่อผลงานในการทำการตลาด เช่น ปัจจัยด้านการเมือง กลุ่มประชากร วัฒนธรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
- การวิเคราะห์สิ่งแวดล้มในระดับจุลภาค เน้นวิเคราะห์ปัจจัย มุมมอง และแผนการตลาดต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ เช่น พนักงานในบริษัทและการเข้าร่วมแคมเปญแต่ละครั้ง รวมไปถึง การใช้เครื่องมือในการส่งสารให้กับคนภายนอก
- การวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการตลาด การวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของวิสัยทัศน์ทางธุรกิจในปัจจุบัน และเป้าหมายของการทำการตลาด ในช่วงการวิเคราะห์กลยุทธ์นี้ นักการตลาดจะได้มีโอกาสดูว่า เป้าหมายทางการตลาดที่ใช้อยู่สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดที่ทำอยู่หรือไม่
เช็คลิสต์แต่ละปัจจัยในการวิเคราะห์ตลาด
สภาพแวดล้อมระดับมหภาค
- ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
- แบรนด์ เอมบาสเดอร์
- ช่องทาง/สภาพแวดล้อมในการทำการตลาด
- บริการและเครื่องมือในการทำการตลาด
สภาพแวดล้อมระดับจุลภาค
- การวิเคราะห์สภาพขององค์กร (SWOT analysis) ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกและภายใน
- คู่แข่ง
- ปัจจัยด้านการเมือง สิ่งแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี กฎหมายและเศรษฐกิจ
- สภาพแวดล้อมของผู้รับสาร
กลยุทธ์การตลาด
- เป้าหมายทางธุรกิจ
- แผน/กลยุทธ์ในการทำการตลาด
- กลยุทธ์อื่น ๆ ในการทำการตลาด
การตลาด SEO
- คีย์เวิร์ด
- การติดอันดับแบบธรรมชาติ
- CTR
- Link profile / Domain authority
เว็บไซต์
- ความเร็วในการแสดงแต่ละเพจ
- ประสบการณ์ผู้ใช้
- ทำดรรชนีได้
- การออกแบบเว็บไซต์
การตลาดด้วยโซเชียลมีเดีย
- เอ็นเกจเมนท์
- การมีตัวตนทางสังคมออนไลน์
- การสร้างอิมแพ็คให้กับอุตสาหกรรม
การตลาดแบบออฟไลน์
- การตลาดแบบแนะนำทางธุรกิจ
- การเข้าร่วมงานอีเวนท์
- การร่วมมือกับสื่อ
ตัวชี้วัดในการวิเคราะห์ตลาด
ความต่อเนื่องและชื่อเสียงของแบรนด์ ความต่อเนื่องและชื่อเสียงของแบรนด์นั้นมีความสำคัญ ดังนั้น จึงต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อใจให้กับลูกค้า และในช่วงที่ทำ Marketing Audit ให้นึกถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ เช่น โทนของสารที่จะสื่อ บุคลิกภาพ โลโก้และกราฟิก ภาพและสี ประสบการณ์ของลูกค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้สามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดความต่อเนื่องและชื่อเสียงของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีเหมือนกัน
ศักยภาพและคุณภาพของตลาด แม้ตัวชี้วัดจะบอกว่า แคมเปญการทำการตลาดต่าง ๆ ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่ไม่ได้หมายความจะต้องนั่งชื่นชมกับความสำเร็จนั้นโดยไม่ทำอะไรเพื่อต่อยอด หากต้องการเป็นที่หนึ่ง การพัฒนาต่อยอดจะต้องมีเสมอ นักการตลาดจะต้องรู้ว่าจุดไหนที่ต้องการต่อยอด หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
คอนเวอร์ชันและลูกค้าในอนาคต เป้าหมายสูงสุดของการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จสำหรับนักการตลาดและผู้ประกอบการหลายคนคงหนี้ไม่พ้น “การได้ลูกค้าในอนาคตและคอนเวอร์ชันที่นำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต”
โอกาสในการดูแลลูกค้าในอนาคต ในขณะที่กลยุทธ์ในการสร้างกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มสนใจในสินค้าและบริการของเรา (Lead Generation) เป็นส่วนสำคัญในการทำแคมเปญด้านการตลาด ต้องระลึกเสมอว่า คนที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา หรือเข้าร้านเราอาจจะไม่ซื้อสินค้าเลยทันที สถิติบอกว่า อาจต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในอนาคตกลุ่มนี้ 6-8 ครั้งจึงน่าจะทำให้เกิดการขายได้ นั่นแปลว่า นักการตลาดจะต้องมีวิธีที่จะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้โดยไม่สร้างความรำคาญให้พวกเขาเสียก่อน เช่น การส่งอีเมลโดยตรงไปยังลูกค้ากลุ่มนี้เป็นประจำเพื่อสร้าง re-engagement ให้เกิดขึ้น เข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยทุกช่องทางที่มี เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และกิจกรรมออฟไลน์อื่น ๆ เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของลูกค้า การตลาดสมัยใหม่ไม่ได้มุ่งให้เกิดการขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้าและแบรนด์ หลายพฤติกรรมที่สามารถบอกนักการตลาดได้ว่า แคมเปญต่าง ๆ สร้างการมีส่วนร่วมและได้รับความสนใจจากลูกค้าหรือไม่ เช่น มีการคอมเมนท์บนบล็อก มีการแชร์โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ฯลฯ และหากนักการตลาดยังเข้าไม่ถึงจุดนี้ อาจต้องมานั่งวางกลยุทธ์กันใหม่
การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะปล่อยออกสู่ตลาดสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่ นอกจากนี้การวิเคราะห์ตลาดที่ดีจะช่วยให้เรามีข้อมูลเชิงลึก สำหรับดูความเคลื่อนไหว หรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ, คู่แข่ง, แนวโน้มของตลาดอย่างต่อเนื่อง, ประชากรและพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า ดังนั้นการวิเคราะห์ตลาดจึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลที่จำเป็นและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้
ให้ HiSeoul Cosmetics ช่วยคุณสิคะ

ติดต่อเรา:
LINE : @hiseoulcosmetics
โทร : 062-806-3848
Email : [email protected]
Facebook : https://www.facebook.com/hiseoulcosmetics